การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ประวัติอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการท าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวเตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ "อินเทอร์เน็ต" (Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้ว
ปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512 ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและโดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำกลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
คุณธรรมและจริยธรรม
1. ใช้ถ้อยคำสุภาพ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าครูจะโพสต์ทวงงานนักเรียนในกรุ๊ปเฟสบุ๊ครายวิชา ครูก็ต้องนึกก่อนว่า ในฐานะครู จำเป็นจะต้องใช้คำพูดกับนักเรียนอย่างไร เพื่อให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่ครูต้องการจะบอก โดยที่นักเรียนก็ไม่ได้รู้สึกเหมือนถูกครูคุกคามหรือทำหยาบคายใส่
2. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาทที่แต่ละเว็บไซต์กำหนด

แต่ละเว็บไซต์จะมีการกำหนดกฎ กติกา และมารยาทในการใช้เว็บไซต์ เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้เว็บไซต์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เช่น เว็บไซต์ YouTube มีการกำหนดว่า หากผู้ใดต้องการอัปโหลดวิดีโอ เนื้อหาในวิดีโอนั้นจะต้องไม่มีเนื้อหาที่สื่อถึงความลามกหรืออนาจาร เป็นต้น
3. ให้เครดิตแหล่งที่มาข้อมูลเสมอ เมื่อมีการนำข้อมูลผู้อื่นมาใช้
เมื่อเรามีการนำข้อมูลของคนอื่นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ เสียง หรือวิดีโอต่างๆ เราต้องให้แหล่งที่มาของข้อมูลนั้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและไม่ละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล หากเรานำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ให้แหล่งที่มา เราอาจจะถูกฟ้องร้องเพราะไปขโมยข้อมูลของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตได้
4. ไม่แชร์ข้อมูลผิดๆ หรือภาพที่ไม่เหมาะสม
การแชร์ข้อมูลผิดๆ หรือภาพที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เช่น ภาพศพที่ไม่มีการเซ็นเซอร์ ภาพอนาจาร หรือการแชร์ข้อมูลการรักษาโรคแบบผิดๆ การที่เราแชร์สิ่งเหล่านี้ออกไป ไม่ว่าจะด้วยความสนุกหรืออะไรก็ตาม หากเราแชร์ไปโดยที่ไม่คิดไตร่ตรองให้ดี ก็จะทำให้คนอื่นๆ ที่มาเห็นข้อมูลเหล่านี้เข้าใจผิดหรือรู้สึกไม่ดีได้ รวมถึงอาจเป็นการละเมิดสิทธิของคนอื่นอีกด้วย
5. ไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น
เวลาที่เรามาเจอเพื่อนๆ ที่โรงเรียน เราคงเคยบอกว่าเพื่อนคนไหนน่ารำคาญจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น เพื่อนพูดมาก เพื่อนขี้บ่น หรือเพื่อนชอบเซ้าซี้ขอให้เราทำอะไรสักอย่างให้ไม่ยอมหยุด
ส่วนในโลกอินเทอร์เน็ต การสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่นก็ไม่ได้แตกต่างไปมากนัก ยกตัวอย่างเช่น การสแปมข้อความซ้ำๆ การส่งจดหมายลูกโซ่ หรือการส่งคำเชิญเล่นเกมไปให้คนอื่นบ่อยจนเกินไป
6. ไม่ละเมิดสิทธิและไม่กลั่นแกล้งผู้อื่น
ปัจจุบันการละเมิดสิทธิและกลั่นแกล้งผู้อื่นบนโลกอินเทอร์เน็ตมีเยอะมาก เช่น การแอบถ่ายรูปคนอื่นโดยที่เจ้าตัวไม่ได้อนุญาต แล้วนำรูปแอบถ่ายไปอัปขึ้น Facebook พร้อมวิจารณ์เขาเสียๆ หายๆ หรือการไปโพสต์แสดงความคิดเห็นด้วยคำหยาบคาย ด่าทอผู้อื่นแบบไม่มีเหตุผล (ภาษาง่ายๆ ที่เราเรียกกัน คือ “พวกนักเลงคีย์บอร์ด”) เป็นต้น
การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญ และใหญ่ที่สุด
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตควรดําเนินการดังนี้
1. กําหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น
ผู้สืบค้นหรือผู้วิจัยที่จะนําข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นที่ชัดเจน ทําให้
สามารถกําหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่จะสืบค้นให้แคบลง กําหนดประเภทของเครื่องมือหรือโปรแกรมสําหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Search Engine ให้เหมาะสม กําหนดช่วงเวลาที่ข้อมูลสารสนเทศถูกสร้างขึ้น เช่น ช่วงปีที่ตีพิมพ์ของวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้เพื่อให้ผลการสืบค้นมีปริมาณไม่มากเกินไป มีความตรง (Validity) ตามวัตถุประสงค์ และมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มากที่สุดอีกทั้งยังสามารถสืบค้นได้ผลในเวลาอันรวดเร็ว
2. ประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้
ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภท มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือ
มีทั้งที่เป็นข้อความ(Text) ภาพวาด (Painting) ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing) ภาพไดอะแกรม (Diagram) ภาพถ่าย (Photograph) เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น เสียงดนตรี (Midi) ภาพยนตร์ (Movie) ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation)
จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สําหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาพ (Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจํากัดอยู่มาก ใช้เวลานาน และยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในการให้บริการการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ต
3. การสืบค้นต้องอาศัยอุปกรณ์และความรู้
ก่อนที่ผู้สืบค้นจะสามารถสืบค้นข้อ มูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตได้ ต้องมีการจั ดเตรียม
อุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจเป็น Modem ในกรณีที่ใช้คู่กับสายโทรศัพท์ หรือแผ่น LAN Card ในกรณีที่ใช้คู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการติดตั้งไว้แล้ว ซอฟต์แวร์การสื่อสาร (Communication Software) เช่น Dial-up Networking ในกรณีใช้ Modem หรือมีการติดตั้ง Network Protocol ที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งอยู่และติดตั้ง Network Adapter ที่เหมาะสมสําหรับ LAN Card นั้นๆ ต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์การหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อเป็นช่องทางออกสู่อินเทอร์เน็ต
นอกจากอุปกรณ์ต่ า งๆ ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น แล้ ว ยั ง ต้ อ งมี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะพื้ น ฐานในการใช้ ง านคอมพิ ว เตอร์ ( Computer Literacy) ความรู้ภาษาอังกฤษเนื่องจากข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยังต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
4. บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีมากมายหลายบริการ
เช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ Word-Wide-Web(WWW) บริการค้นหาข้อมูล Gopher บริการการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย ค้นหาโปรแกรมใช้งาน Archie นอกจากนี้ อาจใช้บริการสอบถามผ่านทาง E-mail หรือ Chat กับผู้ใช้งาน
อินเทอร์เน็ตอื่นๆ หรือสอบถามผ่าน News Group หรือ Group/Thread Discussion ก็ได้
โดยทั่วไปในปัจจุบัน การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต นิยมใช้โปรแกรม Web
Browsers เช่น Internet Explorer หรือ Netscape แล้วเรียกใช้บริการ www ประกอบกับการใช้ Search Engine ซึ่งมีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ตในการสืบค้น เมื่อสืบค้นได้แล้ว โปรแกรม Web Browsers มักจะมีบริการ Download ได้ทนทีโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นๆเข้าช่วย
5. เครื่องมือหรือโปรแกรมสําหรับการสืบค้น
เครื่องมือหรือโปรแกรมสําหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการ
อยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูล
สารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ ไม่เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง
ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลด้วย Web Search Engine
การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine
เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
ตัวอย่าง Web Search Engine

2. http://www.youtube.com/
3. http://dict.longdo.com
การสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine

ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
การสืบค้นรูปภาพด้วย Search Engine

1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “รูปภาพ”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
5. ระบบจะทำการค้นหารูปภาพที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงรูปภาพที่ค้นหาพบ
การสืบค้นแผนที่ด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นแผนที่ด้วย Search Engine
1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “แผนที่”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) สถานที่ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา Maps”
5. ระบบจะทำการค้นหาสถานที่ที่ต้องการ แล้วแสดงออกมาในรูปแบบของแผนที่ รวมไปถึงลิ้งค์ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ อีกด้วย
การสืบค้นวีดิโอด้วย Search Engine

1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.youtube.com/
2. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
3. กดที่ปุ่ม “search”
4. ระบบจะทำการค้นหาวีดิโอที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงวีดิโอที่ค้นหาพบ
การสืบค้นคำศัพท์ด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นคำศัพท์ด้วย Search Engine
1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://dict.longdo.com
2. พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
3. เลือกบริการ “dictionary”
4. กดที่ปุ่ม “submit”
5. ระบบจะทำการค้นหาคำศัพท์ที่ต้องการพร้อมคำแปล
ความสําคัญของการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ
สารสนเทศมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการทุกระดับขององค์การ ทั้งในการปฏิบัติงาน และการบริการ ใช้ช่วยในการตัดสินใจ การวางแผน และการประเมินผลเปรียบเทียบช่วยเพิ่มระดับความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริง สารสนเทศจะมีค่าหรือความหมายมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานมากขึ้นและสารสนเทศนั้นส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจหรือการกระทำที่ดำเนินการ
ข้อมูลและสารสนเทศในความหมายของผู้ใช้
ผู้ใช้ข้อมูลและสารสนเทศแต่ละคน จะมีการรับรู้ต่อข้อมูลและสารสนเทศเดียวกันแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งานและหน้าที่ความรับผิดชอบ สารสนเทศสำหรับคนๆหนึ่งอาจเป็นข้อมูลดิบสำหรับคนอื่นก็ได้ เช่น ใบสั่งให้ส่งเอกสาร เป็นสารสนเทศของพนักงานส่งเอกสาร แต่เป็นข้อมูลดิบของงานสารบรรณ ตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารใบสั่งซื้อสินค้า จะมีความหมายและคุณค่าต่อผู้ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. พนักงานขาย ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้าเป็นสารสนเทศของเขา เพราะเขาจะต้องจัดสินค้าตามรายการนั้น
2. ผู้จัดการฝ่ายขาย ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้า เป็นข้อมูลของเขา แต่เมื่อนำใบสั่งซื้อทั้งหมดมาประมวลสรุปเป็นรายงานประจำเดือนจึงจัดเป็นสารสนเทศของเขา
3. พนักงานบัญชี ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นข้อมูลแต่เมื้อใบสั่งซื้อสินค้านี้ถูกดำเนินการต่อให้เป็นใบส่งของ สำหรับนำไปเก็บเงินลูกค้าและทำบันทึกบัญชีต่อไป จึงจะเป็นสารสนเทศของเขา ซึ่งจะได้เป็นบัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินสด และรายได้จากการขายสินค้า ซึ่งเกิดจากข้อมูลในใบสั่งซื้อนั้น
4. พนักงานอื่นๆ เช่น วิศวกร นักวิจัย ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเพียงข้อมูลที่เขาไม่ต้องเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง ค่าแรงของลูกจ้างต่อสัปดาห์ เป็นสารสนเทศของลูกจ้างแต่ละคนที่จะได้รับค่าแรงแต่เป็นข้อมูลของผู้บริหาร และเมื่อรวมค่าแรงทั้งหมดที่ต้องจ่ายใน1 สัปดาห์แล้ว จึงจะถือว่าเป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหา
วิธีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ
มีวิธีการจัดการข้อมูลสารสนเทศดังต่อไปนี้
1. การรวบรวมข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลจากหลายๆแหล่งข้อมูลและหลายหลายชุดข้อมูลมาเก็บไว้เพื่อคัดกรองตรวจสอบก่อนนำไปจัดทำเป็นสารสนเทศต่อไป
2. การตรวจสอบข้อมูลข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นบนเว็บไซต์ต่างๆซึ่งมีจำนวนมากมายนั้นก่อนจะนำไปประมวลผลเพื่อจัดทำสารสนเทศควรมีการตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือและเลือกเฉพาะข้อมูลที่ตรงกับเป้าหมายการนำไปใช้เท่านั้นการตรวจสอบข้อมูลมีประเด็นที่ควรคำนึงดังต่อไปนี้
- ข้อมูลที่มีความถูกต้องและทันสมัย
- มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือกำกับไว้
- ผู้เขียนเนื้อหาเป็นใครเป็นหน่วยงานภาคการศึกษาหน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลทั่วไป
- ถ้าเป็นข้อมูลเรื่องเดียวกันหากร้ายร้ายแรงข้อมูลเก่าๆตรงกันก็ถือว่ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
3. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีการรวบรวมข้อมูลตามที่สนใจจากที่ต่างๆแล้วนำข้อมูลมาดำเนินการอาจเป็นการคำนวณกรณีข้อมูลเป็นตัวเลขหรือเรียงลำดับจัดกลุ่มซึ่งเป็นการประมวลผลทั้งสิ้นการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศมี 3 ขั้นตอนดังนี้
3.1 การเตรียมข้อมูลในขั้นตอนนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลให้เหมาะสมเช่นการนำรหัสแทนข้อมูลจริงเช่นใช้แทน 1 ส่วนหญิงแทนด้วย 2 จากนั้นนำข้อมูลมาบันทึกซื้อคอมพิวเตอร์
3.2 การประมวลผลนำข้อมูลมาดำเนินการคำนวณเพื่อหาค่าทางสถิติต่างๆปัจจุบันนิยมใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณ
3.3 การรายงานผลเป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ที่ต้องการสารสนเทศนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกง่ายและมองเห็นภาพซึ่งอยู่ในรูปของตารางภาพแผนภูมิต่างๆ
4 การเก็บข้อมูลและสารสนเทศเพื่อได้ข้อมูลสารสนเทศแล้วควรมีการเก็บรักษาไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปทั้งนี้คำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศด้วยดังนี้
4.1การบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกต่างๆเช่นในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แผ่นดิสก์และในการเลือกสื่อบันทึกข้อมูลจะต้องพิจารณาถึงความทนทานสะดวกต่อการเรียกใช้งาน
4.2 การทำสำเนาถาวรเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญนอกจากนี้มีประโยชน์ต่อการแจกจ่ายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์หรือการส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการดังนั้นการทำสำเนาจึงต้องสำคัญซึ่งการทำสำเนาเอกสารมีหลายแบบเช่นการพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูลการถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นต้น